โรคฉี่หนูอันตรายที่มาพร้อมฝน

โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Leptospira ซึ่งพบได้ในปัสสาวะและเนื้อเยื่อของสัตว์พาหะ เช่น หนู สุกร วัว ควาย สุนัข เป็นต้น เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายคนผ่านทางบาดแผล ผิวหนังที่มีรอยขีดข่วน หรือเยื่อบุตา จมูก ปาก จากการสัมผัสน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนเชื้อ

โรคฉี่หนูอันตรายที่มาพร้อมฝน 02

โรคฉี่หนูมักพบในช่วงฤดูฝน เนื่องจากน้ำฝนจะชะล้างเอาเชื้อโรคจากสภาพแวดล้อมมารวมกันอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมขัง

อาการของโรคฉี่หนูมักเริ่มขึ้นหลังจากสัมผัสเชื้อประมาณ 2-14 วัน อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ไข้สูง
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือข้อต่อรุนแรง
  • หนาวสั่น
  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • ตาแดง ระคายเคืองตา
  • ตาเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม

หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคฉี่หนูอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ไตวายเฉียบพลัน ภาวะเลือดออกในอวัยวะต่างๆ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเสียชีวิตได้

การป้องกันโรคฉี่หนูสามารถทำได้โดย

  • หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน
  • หากจำเป็นต้องลุยน้ำหรือแช่น้ำให้สวมรองเท้าบูทและถุงมือยาง
  • ปิดพลาสเตอร์หากมีบาดแผล
  • ทานอาหารปรุงสุก สด ใหม่ ผัก ผลไม้ ต้องล้างให้สะอาด
  • ล้างมือ อาบน้ำ เมื่อลุยน้ำมา ต้องชำระล้างร่างกายทันที
  • ทำความสะอาดบริเวณบ้าน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมภายในบ้านไม่ให้มีหนูชุกชุม

หากมีอาการของโรคฉี่หนู ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที

Articles You Might Like

Share This Article

Get Your Weekly Sport Dose

Subscribe to TheWhistle and recieve notifications on new sports posts